Pattharathon Srithundorn
6 min readJul 24, 2022

เมื่อ “องค์กร (DApp)” รวยกว่า “ประเทศ (Blockchain)

Introduction

เมื่อวันที่ 19 July 2022 ที่ผ่านมา โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็ป Cryptofees Uniswap หรือ Decentralized Exchange (DEX) มีรายได้จากค่าธรรมเนียมต่อ 1 วันอยู่ที่ $12,589,074 และต่อสัปดาห์ (เฉลี่ย 7 วัน) อยู่ที่ $6,745,257 ซึ่งมากกว่า Ethereum ที่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมอยู่ที่ $5,410,729 และ $4,327,156 ตามลำดับ สังเกตุได้ว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมต่อวันของ Uniswap มากกว่า Ethereum ถึง 1 เท่าตัว (รูปประกอบด้านล่าง)

ซึ่งหากเปรียบ Ethereum เสมือนเป็นประเทศ และ Uniswap เสมือนเป็นองค์กรในประเทศ หมายความได้ว่า “องค์กรเดียวมีรายได้มากกว่าทั้งประเทศ!”

source: https://cryptofees.info/history/2022-07-19

สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ยังไง? และมีปัจจัยอะไรบ้าง? ทำไม Uniswap ถึงมีรายได้จากค่าธรรมเนียม (fees) มากกว่าเครือข่ายที่ตัวเองรันอยู่อย่าง Ethereum? บทความนี้จะมาเล่าให้ทุกท่านฟังครับ

ก่อนอื่นขอขยายความในเรื่องของการเปรียบเทียบ Blockhain และ DApp กับ ประเทศ และ องค์กร ก่อน

ประเทศ และ องค์กร ในความหมายของ Decentralized network คืออะไร?

หากเปรียบเทียบ Blockchain เป็นเหมือนประเทศ ก็คงเป็นประเทศที่ไม่ได้มีรัฐบาลกลางคอยบริหาร ปกครองประเทศ แต่เป็นประเทศที่ถูกบริหารและปกครองโดย Community หรือกลุ่มของผู้คนที่มารวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่าย หรือ “ประเทศ” ร่วมกัน

Native coin หรือ Cryptocurrency ของ Blockchain ก็เปรียบเสมือนกับ Currency ที่ถูกใช้เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในประเทศ ในมุมของ Blockchain เหรียญ Cryptocurrency ของเครือข่ายถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกใช้ในการทำธุรกรรมและใช้เป็น reward ตอบแทนให้กับผู้ดูแลเครือข่าย ตัวอย่างเช่น ETH

ดังนั้นหาก Blockchain เปรียบเสมือน “ประเทศ” Decentralized Application (DApp) ก็เปรียบเสมือน “องค์กร” ที่อยู่ในประเทศนั้นๆ ซึ่ง DApp หรือ องค์กร ก็เป็น subset ของ Blockchain หรือ ประเทศ

เปรียบเทียบด้วยกราฟให้ดูกันอีกที

source: https://cryptofees.info/

รูปด้านบนคือการเปรียบเทียบรายได้จากค่าธรรมเนียม (fees) ระหว่าง Uniswap (สีเหลือง) และ Ethereum (สีเทา) ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เดือน October ปี 2021 รายได้จากค่าธรรมเนียมของ Ethereum สูงกว่า Uniswap มาก และเคยขึ้นไปสูงสุดถึงประมาณ $80m เลยทีเดียว แต่ตั้งแต่เดือน November 2021 ก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่ประมาณ $5M จนในปัจจุบันเดือน July 2022 ค่าธรรมเนียมของ Uniswap ก็ได้แซงหน้า Ethereum ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก

หากย้อนกลับไปดูจะสังเกตุได้ว่าภายใน 3 เดือนล่าสุดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ที่รายได้จากค่าธรรมเนียมต่อวันของ Uniswap พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และมากกว่า Ethereum

  • วันที่ 11 May 2022 สูงถึง $7,124,658 ต่อวัน
source: https://cryptofees.info/
  • วันที่ 15 June 2022 สูงถึง $7,467,605 ต่อวัน
source: https://cryptofees.info/
  • วันที่ 19 July 2022 นี้ สูงถึง $12,055,039 ต่อวัน
source: https://cryptofees.info/

ความแตกต่างของ Fees model ระหว่าง Uniswap และ Ethereum

Uniswap (V3) fees model

Uniswap ใช้วิธี Fixed อัตราค่าธรรมเนียม (fees rate) โดยแบ่งออกเป็นหลาย fees tier ได้แก่

  • 0.01% ⇒ สำหรับคู่เหรียญที่มีความผันผวนของราคาต่ำมาก เช่น USDT/USDC
  • 0.05% ⇒ สำหรับคู่เหรียญที่มีความผันผวนของราคาต่ำ เช่น USDT/DAI
  • 0.3 ⇒ สำหรับคู่เหรียญที่มีความผันผวนปานกลาง เช่น ETH/USDC, WBTC/WETH
  • 1% ⇒ สำหรับคู่เหรียญที่มีความผันผวนสูง-สูงมาก เช่น ETH/CHZ, ETH/CVX

ส่วน Protocol fees ของ Uniswap นั้นถูก set ไว้เป็น 0 ณ ตอนเริ่มต้น แต่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้โดย UNI governance (รูปประกอบด้านล่าง)

https://uniswap.org/whitepaper-v3.pdf

โดยการค่าธรรมเนียมที่ได้รับต่อ 1 ธุรกรรมจะขึ้นอยู่กับ มูลค่าของธุรกรรม (transaction value) และ อัตราค่าธรรมเนียมของการทำธุรกรรม (fees rate) เป็นหลัก

Ethereum fees model

ค่าธรรมเนียมของ Blockchain ก็เปรียบเสมือน Tax ที่รัฐบาลเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงประเทศ และเศรษฐกิจของประเทศ

แต่ในมุมของ Blockchain เงินค่าธรรมเนียมที่ได้นั้นไม่ได้ถูกส่งไปที่คนกลางอย่างรัฐบาลกลาง แต่ถูกกระจายส่งให้แก่ผู้ดูแลเครือข่าย (Validator node) ทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในการช่วยตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม และรักษาให้เครือข่ายปลอดภัย

การคำนวณค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรมของ Ethereum มี Equation ดังนี้

ก่อนหน้า EIP-1559

Tx Fees($) = (GasUsed * GasPrice) * ETH price

หลังจาก EIP-1559

Tx Fees($) = (GasUsed * (Base Fees + Tip)) * ETH price

ค่า Transaction fees ของ Ethereum จะมีความ dynamic ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้

  1. Gas price (Before EIP-1559) ซึ่งค่า gas price จะขึ้นอยู่กับ
    1.1) ผู้ใช้งาน ว่ายินดีที่จะจ่ายเท่าไหร่ยิ่งจ่ายมากก็ยิ่งมีโอกาสได้เข้า Block ก่อน 1.2) ความหนาแน่นของเครือข่าย (Network congestion) ถ้าเครือข่ายมีผู้ใช้งานพร้อมกันเยอะแล้วทุกคนแย่งกันที่จะส่งธุรกรรมเข้า Block จะส่งผลให้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้นตามความต้องการ
  2. Base Fees (After EIP-1559) ค่า fees ขั้นต่ำที่ต้องใช้ในการส่งธุรกรรม
  3. Tip (After EIP-1559) ค่า fees เพิ่มเติมที่ Top-up ให้กับ Miner เพื่อจูงใจให้เลือกธุรกรรมไป mined ลง Block ก่อน
  4. ราคาของเหรียญ ETH ยิ่งราคาสูงค่าธรรมเนียมก็ยิ่งแพง
  5. จำนวนธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น (Tx count)
  6. จำนวน Gas ที่ใช้ในการประมวลผลต่อธุรกรรม (Gas used)

รายได้ทั้งหมดที่เครือข่าย Ethereum ได้รับจากค่าธรรมเนียมของธุรกรรม (ในหน่วย USD) จะเท่ากับ ผลรวมของจำนวนธุรกรรม (TotalTx) คูณกับค่าธรรมเนียมของธุรกรรม (TxFees)

ETH Fees = TotalTx * TxFees

หมายความได้ว่า “ยิ่งมีจำนวนธุรกรรมเกิดขึ้นเยอะ หรือแต่ละธุรกรรมมีการประมวลผล (Gas Used) เยอะ ก็จะทำให้รายได้จากค่าธรรมเนียมของเครือข่ายเยอะขึ้นตาม”

ดังนั้นรูปแบบในการเก็บค่าธรรมเนียม วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม และปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้จากค่าธรรมเนียมของทั้ง Uniswap และ Ethereum มีความแตกต่างกัน

รายได้จากค่าธรรมเนียมของ Ethereum และ Uniswap ถูกเก็บไว้ที่ไหน?

ทั้ง Ethereum และ Uniswap จะกระจาย (Distributed) รายได้จากค่าธรรมเนียมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย แทนที่จะเก็บเก็บเอาไว้กับตัว (Centralized) เหมือน Platform ในยุค Web2.0

  • รายได้ของค่าธรรมเนียมของ Ethereum ในปัจจุบันจะถูก burn ทิ้งทั้งหมด เพื่อลด circulating supply โดย miner จะได้รับเป็น Tip และ Block reward ที่ถูก mint ขึ้นมาแทน
  • รายได้ของค่าธรรมเนียมของ Uniswap เกือบทั้งหมดจะถูกกระจายไปให้กับ Liquidity Provider ตามสัดส่วนของ LP token ที่มีใน Pool นั้นๆ และส่วนน้อยที่ถูกนำไปให้กับ Protocol และทีมงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับ protocol fees

ปัจจัยที่ส่งผลให้ Uniswap ได้รับค่า fees จำนวนมาก

1. Trading Volume

Trading volume ของทั้งตลาด Crypto

ปัจจัยพื้นฐานของ Exchange ก็คือ volume หากมี trading volume สูง หมายถึงมีคนมาซื้อ-ขายสินทรัพย์เยอะ ส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมการ Trade สูงขึ้นตามไปด้วย

หากลองเปรียบเทียบกับมูลค่าโดยรวมของตลาด Cryptocurrency หรือ Market Capitalization และ 24h Volume ของทั้งตลาด ณ ช่วงเวลาเดียวกันดู

  • วันที่ 11 May 2022
source: https://coinmarketcap.com/
  • วันที่ 15 June 2022
source: https://coinmarketcap.com/
  • วันที่ 19 July 2022
source: https://coinmarketcap.com/

หากดูจากกราฟแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ช่วงเวลาที่ Uniswap ได้รับค่าธรรมเนียมที่สูงเป็นช่วงเวลาที่มีปริมาณ Trading Volume สูงทั้ง 3 ช่วง ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ตรงตัวสำหรับ Exchange อยู่แล้ว แต่ตรงกันข้ามกับ Market Capitalization ของตลาดที่มีแนวโน้มเป็นขาลง (Downtrend) อย่างต่อเนื่อง และส่วนมากนั้นน่าจะเป็น volume การขาย (Selling) มากกว่าการซื้อ (Buying)

Trading volume ของ Uniswap

เราลองมาดู Trading volume เฉพาะของ Uniswap ในแต่ละช่วงเวลากันบ้าง

  • วันที่ 11 May 2022
source: https://tokenterminal.com/
  • วันที่ 15 June 2022
source: https://tokenterminal.com/
  • วันที่ 19 July 2022
source: https://tokenterminal.com/

จากกราฟด้านบนสังเกตได้ว่าทั้ง 3 วันที่ค่าธรรมเนียม (fees) ของ Uniswap เพิ่มสูงขึ้นนั้นมี Trading volume ที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะคู่เหรียญ USDC-WETH ที่มี trading volume สูงที่สุด จึงสะท้อนได้ว่า Trading volume เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมของ Uniswap สูงขึ้น

2. Transaction Amount

ในบางครั้งจำนวนครั้งในการ trade หรือ swap นั้นอาจจะสูง แต่ค่าธรรมเนียมที่เก็บได้กลับน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนการ trade ตัวอย่างเช่น อัตราค่าธรรมเนียมในการเทรด คือ 0.1% ของมูลค่าการเทรด

  • Case1 จำนวนครั้งการ trade 1,000,000 ครั้ง มูลค่าการ trade แค่ครั้งละ $1 จะได้รับค่าธรรมเนียมทั้งหมดเท่ากับ $100,000
  • Case2 จำนวนครั้งการ trade แค่ 1000 ครั้ง แต่มีมูลค่าการ trade ครั้งละ $1000000 จะได้รับค่าธรรมเนียมทั้งหมดเท่ากับ $1,000,000

ดังนั้นจำนวนการครั้งการเทรดอาจจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับรายได้จากค่าธรรมเนียมเสมอไป แต่จะขึ้นอยู่กับมูลค่าของการเทรดด้วย แต่หากทั้งมูลค่าและจำนวนการเทรดสูงทั้งคู่ ก็จะจะยิ่งส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมสูงขึ้นตามไปด้วย

“ปัจจัยเสริม” ที่ส่งผลให้จำนวน Trading volume และ Transaction amount ของ Uniswap สูงกว่าคนอื่น มีอะไรบ้าง?

1. Liquidity

ปัจจุบันมี Decentralized Exchange (DEX) เกิดขึ้นมาจำนวนมาก หลายๆเจ้าค่าธรรมเนียมถูกกว่าหรือไม่มีค่าธรรมเนียมเลย หรือหลายเจ้าก็มี Feature ที่ทันสมัยกว่า Uniswap แต่หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ Uniswap ยังคงเป็นที่นิยมที่สุด คือ “สภาพคล่อง (Liquidity)” ที่สูงกว่า DEX เจ้าอื่นๆ (รูปประกอบด้านล่าง)

source: https://openorgs.info/

จากภาพด้านล่างเมื่อลองเทียบกับ DEX เจ้าอื่นๆในตลาด อย่างเช่น SushiSwap, Paraswap จะเห็นได้ว่า Uniswap มีสภาพคล่องที่สูงกว่าอย่างชัดเจน ทั้ง Total asset และ Liquid asset

source: https://openorgs.info/

สภาพคล่องในมุมของ DEX สำคัญอย่างไรบ้าง?

  1. ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของ Slippage
  2. ช่วยลดความเสียหายหรือความเสี่ยงของการเกิด Front-running
  3. สามารถรองรับการทำธุรกรรมที่มีมูลค่ามากได้

2. De-Fi Integration

เบื้องหลังของ De-Fi หลายๆประเภทและหลายๆเจ้าไม่ว่าจะเป็น Lending, Yield farming หรือ Trading ล้วนแล้วแต่มาเชื่อมต่อ (integrate) เข้ากับ DEX ที่มี Liquidity สูงๆ อย่าง Uniswap เพราะเกือบทุก De-Fi จำเป็นจะต้องใช้ DEX เพื่อแลกเปลี่ยน token รวมถึง DEX และ DEX aggregator หลายๆเจ้าส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้มี Liquidity Pool ของตัวเอง หรือถึงมีก็มี Liquidity ที่ต่ำเมื่อเทียบกับ Uniswap จึงใช้วิธีมาเชื่อมต่อกับ DEX ใหญ่ๆที่มีอยู่แล้วเพื่อใช้บริการการ swap เหรียญ ส่งผลให้ถึงแม้ว่าธุรกรรมจะเกิดขึ้นบน De-Fi เจ้าอื่น แต่ถ้า De-Fi เจ้านั้นมาเชื่อมต่อกับ Uniswap สุดท้ายแล้ว Uniswap ก็จะได้รับค่าธรรมเนียมอยู่ดี

นอกจาก Ethereum แล้วลองเปรียบเทียบ Uniswap กับ DEX อื่นๆกันบ้าง

SushiSwap

หากพูดถึง DEX บน Ethereum ที่ไม่ใช่ Uniswap สายคริปโตก็ต้องนึกถึง DEX ชื่อดังอย่าง SushiSwap กันแน่นอน ซึ่ง SushiSwap ถือว่าเป็น AMM DEX ที่ใหญ่รองๆมาจาก Uniswap และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกไอเดียของการทำ Liquidity mining หรือการทำ Yield farming นั่นเอง

มาลองเปรียบเทียบระหว่าง SushiSwap และ Uniswap

  • รายได้จากค่าธรรมเนียม
    ในเรื่องของรายได้จากค่าธรรมเนียม ณ วันที่ 19 July 2022 SushiSwap ได้รับอยู่ที่ประมาณ $200,000 เท่านั้นเอง ซึ่งต่างจาก Uniswap ที่ได้รับอยู่ที่ 12,000,000 ซึ่งมากกว่าถึง 6 พันเท่า!
source: https://cryptofees.info
source: https://cryptofees.info
  • SushiSwap Trading volume
source: https://tokenterminal.com

Trading volume ณ วันที่ 11 May 2022 ของ SushiSwap อยู่ที่ประมาณ $600m ส่วนของ Uniswap อยู่ที่ประมาณ $6 billion ต่างกันประมาณ 10 เท่าตัว

แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือคู่เหรียญที่มี Trading volume มากที่สุดของ SushiSwap คือ Other หรือคู่เหรียญที่ไม่ใช่เหรียญหลัก อย่างเช่น BOND/WETH, XMON/ETH

คู่เหรียญบน SushiSwap ที่มี volume มากที่สุด source: https://app.sushi.com/analytics?chainId=1

ซึ่งต่างจาก Uniswap ที่ Volume มากสุดเป็น USDC/WETH

คู่เหรียญบน Uniswap ที่มี volume มากที่สุด source: https://info.uniswap.org/#/pools

หมายความว่าคนส่วนมากถ้าต้องการจะเทรดเหรียญคู่ใหญ่ๆ อย่างเช่น USDC/WETH มักจะใช้ Uniswap มากกว่า แต่คนที่ต้องการเทรดคู่เหรียญเล็กๆ ที่มาใหม่จะนิยมไปเทรดบน SushiSwap กันมากกว่า

สรุป

ในปี 2022 มูลค่าของตลาดคริปโตนั้นลดลงมามากกว่า 60% เนื่องจากความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้นักลงทุนพยายามที่จะขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง cryptocurrency หรือ stock และเปลี่ยนไปถือ currency อย่าง US Dollar หรือซื้อ Treasury bond ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้ในตลาดคริปโตเอง การพังทลายลงของ TerraUSD (UST) และ LUNA การล้มละลายของ Celsius network และ VC ยักษ์ใหญ่อย่าง Three arrows capital ส่งผลให้เกิดความผันผวนของตลาดคริปโตที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมาทำให้ Trading volume ของ exchange พุ่งสูงขึ้นตามความผันผวนของตลาด และด้วยเหตุนี้ความส่งผลให้ demand ของ cryptocurrency ลดลงอย่างมาก รวมถึง demand ในการทำธุรกรรมของ Blockchain อย่าง Ethereum ที่ลดลงอย่างมากด้วยเช่นกัน ส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมของ Chain ลดลงตามไปด้วย จึงเป็นที่มาว่าทำไม Uniswap ถึงมีรายได้จากค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า Ethereum ครับ